Voluntourism [Volunteer tourism]

การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครนั้นมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก มันเริ่มเติบโตไปพร้อมๆ กับวิกฤตใหญ่ๆ ไม่นานมานี้ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 911 ที่ตึก World Trade Center, เหตุการ์ซึนามิใครใหญ่ในแถบเอเชียและแอฟริกา, เหตุการณ์พายุแคททารีน่าถล่มรัฐหลุยเซียน่า หรือแม้แต่วิกฤตการณ์โลกร้อนที่ก่อผลกระทบรุนแรงขึ้นทุกวันต่อมนุษย์ในทุกพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้กระตุกมนุษย์ให้ตื่นขึ้นมาสนใจและใส่ใจซึ่งกันและกัน รวมถึงใส่ใจโลกใบนี้ที่เรายืนอยู่กันให้มากขึ้นอีกด้วยcและยังเป็นตัวเลือกของการท่องเที่ยวที่แฝงไว้ด้วยคุณค่าของการใช้เวลาพักผ่อนในชีวิตให้เป็นประโยชน์

การท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร (Voluntourism)

การเดินทางท่องเที่ยวทุกวันนี้ บทบาทของนักเดินทางกำลังจะเปลี่ยนไป จาก "ผู้รับ" สู่ "ผู้ให้" เป็นมิติหนึ่งของการท่องเที่ยวแบบ Voluntourism เป็นการท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน ที่ทั้งผู้ให้และผู้รับได้มี โอกาสเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดรอยยยิ้มและมิตรภาพที่น่าจดจำ " โครงการท่องเที่ยวเรียนรู้สู่ชุมชน" การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อจุดประกายการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติของการเรียนรู้ ใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ ขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยคัดเลือกชุมชุนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวแต่ยังขาดปัจจัยด้านอื่นๆ ที่จะส่งเสริมให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวได้อย่างสมบูรณ์ เข้มแข็ง และยั่งยืนต่อไป

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการอาสา ทำดี รับผิดชอบต่อสังคม Volunteer


รายการท่องเที่ยวชุด "Volunteer ทำดีด้วยจิตอาสา" จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวความคิดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนโยบายภาครัฐ ที่จะสร้างจิตสำนึกในการเดินทางท่องเที่ยว ในโครงการท่องเที่ยวบำเพ็ญประโยชน์ ที่เน้นนักท่องเที่ยวกลุ่มวัยทำงาน นักศึกษา ที่ชื่นชอบและชื่นชมธรรมชาติ ด้วยการเดินทางท่องเที่ยวในแบบใหม่ ต้องการสร้างประสบการณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งมีจิตอาสา ที่จะทำประโยชน์ให้แก่สังคม
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จิตอาสา คือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกำลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละ สิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลา เพื่อเผื่อแผ่ ให้กับส่วนรวม...อีกทั้งยังช่วยลด "อัตตา" หรือความเป็นตัว เป็นตน ของตนเองลงได้บ้าง
การเป็น "อาสาสมัคร" ไม่ว่าจะเป็นงานใดๆ ก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทางบวก ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราควรทำทั้งสิ้น
คนที่จะเป็นอาสาสมัครได้นั้น ไม่ได้จำกัดที่ วัย การศึกษา เพศ อาชีพ ฐานะ หรือ ข้อจำกัด ใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่ต้องมีจิตใจ เป็น "จิตอาสา" ที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม เท่านั้น
จิตอาสา คำนี้จะคุ้นหูพวกเรามากขึ้น .... หากแต่เพียงมองรอบตัวท่าน ทำสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม...
โดย : ประวิตร พิสุทธิโสภณ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

จิตอาสา...ทำไม?

หลายคนมีคำถามกับสังคมว่าทำไมความวุ่นวายของสังคมจึงมากนัก การแข่งขันที่ร้อนแรงในทุกๆด้าน การทำลายสิ่งแวดล้อม การเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส การปล่อยมลพิษสู่สังคม การว่าร้ายเสียดแทง การแก่งแย่งชิงดี ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มาจากสาเหตุเบื้องต้นคล้ายๆกันคือ ความเห็นแก่ตัว หรือเอาแต่ได้ในส่วนตนเป็นหลัก ใช่หรือไม่

ทำอย่างไรจะลดความเอาแต่ได้ลงบ้าง ตรงกันข้ามกับการเอาเข้ามาใส่ตัวก็คือ "การให้ " แก่คนอื่นออกไป เมื่อคนต่างๆเริ่มมองออกไปสู่ภายนอก แค่นอกจากตัวเองเท่านั้นเอง มองเห็นผู้อื่นอย่างลึกซึ้งแท้จริงมากขึ้น เริ่มเข้าใจมุมมองของคนอื่น เขาต้องการอะไร เขาอยู่ในสภาพไหน เราช่วยอะไรได้บ้าง มองเห็นสังคม เห็นความเป็นไป เห็นแนวทางที่จะช่วยกันลดปัญหา เริ่มให้ เริ่มสละสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เวลา แรงงาน เงิน สิ่งของ อวัยวะหรือแม้กระทั่งสละความเป็นตัวเราของเรา ซึ่งนั่นเป็นหนทางการพัฒนาจิตใจแต่ละคนได้อย่างเป็นรูปธรรม

จิตสาธารณะตรงนี้ที่มองเห็นผู้อื่นเห็นสังคมดังนี้เองที่เราเรียกกันว่าจิตอาสา จิตใจที่เห็นผู้อื่นด้วย ไม่เพียงแต่ตัวเราเอง เราอาจจะยื่นมือออกไปทำอะไรให้ได้บ้าง เสียสละอะไรได้บ้าง ช่วยเหลืออะไรได้บ้าง แบบเพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่ใช่ผู้เหนือกว่า มีน้ำใจแก่กันและกันไม่นิ่งดูดายแบบที่เรื่องอะไรจะเกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับฉันฉันไม่สนใจ สามารถแสดงออกมาได้ในหลายรูปแบบ ทั้งการให้รูปแบบต่างๆ ตลอดจนการอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม

ปัจจุบันได้มีวาระแห่งชาติการให้และอาสาช่วยเหลือสังคมแล้ว เป็นการร่วมมือกันรณรงค์ส่งเสริม " จิตอาสา" ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นการปลุกน้ำใจคนไทยให้งอกงามกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มาช่วยกันดูแลสังคมไทยร่วมกัน ดูแลสิ่งแวดล้อม ชุมชน ตลอดจนปัญหาต่างๆรอบๆตัว อย่างน้อย มองออกมานอกกรอบของเรื่องตัวเอง ออกมาดูคนอื่น เห็นใจ เข้าใจคนอื่นกันมากขึ้น ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดี ทำดีให้เป็นรูปธรรมกันมากขึ้นในสังคมไทย มิใช่เพียงแต่วิจารณ์ ต่อว่าใครหรือคนกลุ่มใดที่ควรรับผิดชอบ แต่ออกมารับผิดชอบ มีส่วนร่วมด้วยกัน